Sunday, January 21, 2018

กรีฑา/กีฬาประเภทลู่



กรีฑา/กีฬาประเภทลู่

กรีฑาประเภทลู่ (Track)[แก้ไข]

กรีฑาประเภทลู่ ประกอบด้วยการวิ่งในลู่วิ่ง ซึ่งการวิ่งระยะสั้น การวิ่งผลัด และการวิ่งข้ามรั้วแต่ละรายการมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป โดยการวิ่งระยะสั้นให้ความตื่นเต้น สนุกสนาน การวิ่งผลัดแสดงให้เห็นถึงการประสานงานกันเป็นทีม การวิ่งข้ามรั้วเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิ่งและการกระโดดแต่การที่บุคคลหนึ่งจะทำการแข่งขัน กรีฑาประเภทลู่ได้ จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะตัวเบื้องต้น ต้องใช้ความอดทนในการฝึกซ้อมที่ถูกวิธี และสิ่งสำคัญต้องมีใจรักในการวิ่งด้วย

วิ่งระยะสั้น (Sprints)[แก้ไข]

การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในทางวิ่งหรือลู่วิ่งที่เรียบ ซึ่งระยะทางวิ่งไม่เกิน 400 เมตร จากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัยสำหรับการแข่งขันกรีฑานักเรียนในประเทศไทย อาจมีการเพิ่มรายการวิ่งระยะทาง 60 เมตร และ 80 เมตรเข้าไปด้วย เพื่อให้นักกรีฑาในรุ่นเล็กได้มีโอกาสร่วมแข่งขัน เนื่องจากการแข่งขันวิ่งระยะสั้นทุกประเภทมีความสำคัญ และให้ความตื่นเต้นสนุกสนานนอกจากนักกรีฑาจะต้องมีความเร็วตามธรรมชาติเป็นทุนเดิมแล้ว การปฏิบัติให้ถูกต้องตามเทคนิคก็มีส่วนช่วยให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายยิ่งขึ้น

เทคนิคในการวิ่งระยะสั้น[แก้ไข]

ความมุ่งหมายของการวิ่งระยะสั้น คือวิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงเส้นชัยก่อน จึงได้มีการศึกษาค้นความว่าทำอย่างไรจึงจะวิ่งได้เร็วที่สุด ดังนั้นทักษะและเทคนิคจึงเป็นกุญแจไขปัญหาให้พบคำตอบที่ถูกต้อง และเชื่อว่ามีส่วนทำให้พบความสำเร็จได้ตามความสามารถของนักกรีฑาแต่ละคน เทคนิคในการวิ่งระยะสั้นมีดังนี้
1.1) ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง การวิ่งระยะสั้นทุกประเภท การตั้งต้นก่อนออกวิ่งสำคัญที่สุด เพราะการแพ้หรือชนะอยู่ที่การเริ่มออกวิ่งว่าดีหรือไม่ ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งที่ดี คือ ท่าที่สามารถช่วยให้ออกวิ่งได้เร็วที่สุด มีแรงส่งตัวไปข้างหน้ามากที่สุดและเสียเวลาน้อยที่สุด ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งทั้งนักกรีฑาและผู้เชี่ยวชาญได้คิดค้นทดลองใช้กันมีหลายแบบหลายวิธีปรากฎว่าวิธีตั้งต้นด้วยการย่อตัวลงนั่งให้มือทั้งสองยันพื้น เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้การออกวิ่งก้าวแรกมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ในขณะที่ถีบตัวออก เท้าไม่เลื่อนถอยหลัง เพราะฉะนั้นควรมีที่ยันเท้า ที่ยันเท้าเริ่มวิ่ง (Starting block) ใช้สำหรับการแข่งขันวิ่งทุกประเภท ในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร ( รวมทั้งวิ่งผลัดไม้แรก 4 x 400 เมตร ) แต่ต้องไม่ใช้กับการแข่งขันวิ่งประเภทอื่น เมื่ออยู่ในลู่วิ่งส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ยันเท้าต้องไม่ล้ำเข้าไปในเส้นเริ่มหรือยื่นเข้าไปใน ช่องวิ่งอื่น ที่ยันเท้าต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง และไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบนักกรีฑาคนอื่น ต้องยึดกับลู่วิ่งด้วยหมุดหรือตะปู ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลู่วิ่งน้อยที่สุด รวมทั้งต้องง่ายในการติดตั้งและรวดเร็วต่อการเคลื่อนย้าย หรือถอดออก
ปัจจุบันที่ยันเท้าสำเร็จรูป เป็นอุปกรณ์ประจำตัวของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้นที่นิยมใช้กันมาก ที่ยันเท้านี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ. ศ. 2470 เพราะมีผลดีต่อการวิ่งมาก อีกทั้งสามารถปรับระยะหรือตำแหน่งของเท้าทั้งสองได้ตามความต้องการและรวดเร็ว ไม่ทำให้ลู่วิ่งเป็นหลุมเสียหาย ใช้ได้ทุกสภาพของสนาม
วิธีติดตั้งที่ยันเท้ากับพื้นสนาม ทำได้โดยวางที่ยันเท้าห่างจากเส้นเริ่มเข้ามา 2 ฝ่าเท้า ระยะห่างระหว่างที่ยันเท้าด้านหน้าและด้านหลังประมาณ 1 ฝ่าเท้า โดยที่ยันเท้าด้านหน้าจะเอนมากกว่าที่ยันเท้าด้านหลังเสมอ
เส้นเริ่ม การจัดที่ยันเท้า
1.2) เทคนิคในการออกตัว เมื่อได้ยินคำสั่ง "เข้าที่" จากผู้ปล่อยตัวนักกรีฑาต้องเดินไปยังบริเวณที่ตั้งต้นออกวิ่งใกล้เส้นเริ่ม แล้ววางมือทั้งสองลงบนทางวิ่ง มือทั้งสองห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่ หรือกว้างกว่าช่วงไหล่เล็กน้อย กางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออกนิ้วอื่น ๆ ชิดกับนิ้วชี้ นิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่ยันพื้นรับน้ำหนักตัว และวางอยู่ในระดับเดียวกันหลังเส้นเริ่มเกือบจรดเส้นเริ่ม นิ้วมือเกร็งขึ้น แขนทั้งสองเหยียดตึงไม่งอข้อศอก วางเข่าของเท้าหลังที่พื้น การเข้าที่มองจากด้านข้าง
เมื่อได้ยินคำสั่งว่า "ระวัง" ให้ยกก้นสูงกว่าไหล่เล็กน้อย โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวให้ลงสู่แขนแนวไหล่จะเลยมือไปข้างหน้าเล็กน้อย หรือแขนตั้งฉากกับพื้น ยกศีรษะขึ้นเล็กน้อยในลักษณะสบาย สายตามองไปข้างหน้าไม่ไกลจากตัวมากนักประมาณ 1 - 3 เมตร สูดหายใจเข้าและกลั้นไว้ ขณะยกก้นขึ้นตั้งสมาธิให้แน่วแน่และนิ่ง หูคอยฟังเสียงปืน การเข้าที่มองจากด้านหน้า เมื่อได้ยินคำสั่ง "ระวัง"
1.3) เทคนิคในการเริ่ม ออกวิ่ง เมื่อเสียงปืนดัง "ปัง" ให้ถีบเท้าส่งไปข้างหน้าด้วยเท้าหน้าพร้อมกับยกมือทั้งสองขึ้นจากพื้น ยกมือข้างตรงข้ามกับเท้าหลังในลักษณะงอศอก นิ้วมืออยู่ระดับหน้าผากกำมือหลวม ๆ ส่วนมือตรงข้ามกระตุกอย่างแรงไปข้างหลังให้เลยสะโพกขึ้นไปเล็กน้อยคล้ายตีศอกหลังลำตัวเอนพุ่งไปข้างหน้าด้วยแรงถีบส่งของเท้า พร้อมกับก้าวเท้าหลังไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งเข่าและสะโพกเหยียดตึงในจังหวะสุดท้ายของการถีบส่งเท้า การเข้าที่มองจากด้านข้าง เมื่อได้ยินคำสั่ง "ระวัง" โดยยกก้นขึ้นจนเข่าหน้าเป็นมุม 90 ํ และก้นจะสูงกว่าไหล่เล็กน้อย
1.4) ท่าทางการเริ่มออกวิ่ง ถีบเท้าส่งไปข้างหน้าด้วยเท้าหน้า พร้อมกับยกมือทั้งสองขึ้น ก้าวเท้าหลังไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งเข่าและสะโพกเหยียดตึงในจังหวะสุดท้ายของการถีบเท้าส่ง ถีบเท้าส่งจากพื้นอย่างรวดเร็วและเต็มพลัง โน้มตัวไปข้างหน้า ลำตัวตั้งขึ้นอย่างช้าวิ่งระยะกลาง (Middle distance)

การวิ่งระยะกลาง[แก้ไข]

การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร การวิ่งระยะกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานรู้ถึงวิธีการวิ่งที่ถูกต้องและมีทักษะในการวิ่งระยะกลางที่เหมาะสมกับสภาพทางด้านร่างกาย เพศ และวัย

เทคนิคในการวิ่งระยะกลาง[แก้ไข]

1.1) ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง ( สมมติว่าผู้วิ่งถนัดเท้าขวา) โดยทั่วไปนิยมยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม คือ ยืนให้ปลายเท้าซ้ายจรดหลังเส้นเริ่ม เท้าขวาอยู่อยู่ข้างหลัง ห่างจากเท้าหน้าพอถนัด โน้มลำตัวไปข้างหน้า ยกมือขวาขึ้นระดับหน้าผาก มือซ้ายยกขึ้นระดับเอว งอศอกขึ้นข้างหลังเล็กน้อย ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งอีกแบบหนึ่งอาจใช้ท่าตั้งต้นแบบวิ่งระยะสั้นก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ที่ยันเท้า จุดมุ่งหมายของการตั้งต้นก่อนออกวิ่งแบบนี้เพื่อต้องการเร่งฝีเท้าทำสถิติและเพื่อชิงวิ่งชิดขอบใน ขณะวิ่งเข้าลู่ทางโค้งไม่เสียเปรียบเรื่องระยะทาง ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง
1.2) ท่าทางในการวิ่ง มีลักษณะดังนี้
1) มุมของลำตัว ลำตัวจะโน้มไปข้างหน้าเพียงเล็กน้อยประมาณ 85 องศาหรือเกือบตั้งตรง ศรีษะและคอเป็นเส้นตรงเดียวกับลำตัว ขณะวิ่งไม่ควรเกร็งส่วนใดของร่างกายเพียงแต่ประคองตัวให้นิ่งไหลส่ายเล็กน้อยไปตามแรงเหวี่ยง ของแขน จะสังเกตว่าลำตัวทำมุมกับพื้นมากกว่าการวิ่งระยะสั้น
2) การก้าวเท้า ขณะก้าวเท้าไปข้างหน้าไม่ต้องยกเข่าสูงมาก ก้าวให้สม่ำเสมอปลายเท้าและเข่าทั้งคู่ขนานกันไปข้างหน้า ก้าวด้วยการเหวี่ยงเท้าในลักษณะสืบเท้าไปข้างหน้า ขาหลังเมื่อยกขึ้นจากพื้นแล้วจะเหวี่ยงขึ้นข้างหลังตามสบาย เพื่อผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ
1.3) การวิ่งทางโค้ง การวิ่งทางโค้งให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการวิ่ง 200 เมตร หรือ 400 เมตร แต่ความเร็วในการวิ่งระยะกลางนี้จะน้อยกว่า จึงทำให้แรงเหวี่ยงออกน้อยกว่า การเอนตัวเข้าหาขอบในของช่องวิ่งจึงมีน้อยกว่า ทำให้การแกว่งแขนใช้แรงน้อยลงกว่าการวิ่งระยะสั้นด้วย
1.4) การผ่อนกำลัง การวิ่งระยะกลางนักกรีฑาไม่สามารถวิ่งเร็วเต็มฝีเท้าได้ตลอดระยะทาง จำเป็นต้องมีการผ่อนกำลัง การผ่อนกำลังอาจจะกระทำได้หลาย ๆ ครั้งตามความจำเป็น สภาพร่างกายและการฝึกซ้อมของผู้วิ่ง วิธีการผ่อนกำลังอาจจะใช้การเปลี่ยนระยะของช่วงก้าว การเปลี่ยนจังหวะการหายใจ การแกว่งแขนให้ช้าลงก็ได้
1.5) เทคนิคในการวิ่งเข้าเส้นชัย การเข้าเส้นชัยทั้งการวิ่งระยะสั้น และระยะกลางมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเริ่มออกวิ่ง เพราะการชนะกันอาจเกิดขึ้นตรงที่ใครเข้าเส้นชัยได้ดีกว่า และรวดเร็วกว่าทั้ง ๆ ที่วิ่งเสมอกันมาเกือบตลอดทาง ลำดับที่ของผู้เข้าแข่งขันให้ถือเอาส่วนหนาของลำตัวของผู้เข้าแข่งขัน คือส่วนอก ( ไม่รวมศรีษะ คือ แขน ขา มือ หรือเท้า) มาถึงขอบในของเส้นชัยตามแนวตั้งฉากกับเส้นชัย การเข้าเส้นชัยที่นิยมใช้ทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้
1) แบบวิ่งเข้าเส้นชัยธรรมดา เป็นวิธีการที่ไม่ต้องใช้เทคนิคหรือทักษะมากนักโดยใช้กำลังเร่งฝีเท้าให้เร็วขึ้นผ่านเข้าเส้นชัย ซึ่งใช้เมื่อนำหน้าคู่แข่งขันมาก ๆ
2) แบบใช้หน้าอก หลังจากเร่งฝีเท้ามาจนเต็มที่แล้ว เหลือระยะทางอีก 2-3 เมตร จะเข้าเส้นชัยให้รีบก้าวยาวเฉียดพื้น ในท่าครึ่งก้าวครึ่งกระโดด พร้อมกับกดตัวต่ำลง หน้าอกเข้าเส้นชัย
3) แบบใช้ไหล่ วิธีการเข้าเส้นชัยแบบนี้คล้ายกับแบบใช้หน้าอก แต่แทนที่จะใช้หน้าอกเข้าเส้นชัย ก็ใช้เอี้ยวตัดบิดก้มลงด้วยการเอียงไหล่ข้างหนึ่งเข้าเส้นชัย หรืออาจจะก้มศีรษะพุ่งตัวให้หัวไหล่พุ่งตรงไปข้างหน้าก็ได้

วิ่งผลัด[แก้ไข]

การวิ่งผลัด หมายถึง การวิ่งแข่งขันตามระยะทางที่กำหนดเป็นช่วง ๆ โดยมีผู้เข้าแข่งขันเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันเท่า ๆ กันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การวิ่งแต่ละช่วงจะมีการับส่งสิ่งของหรือคฑา (Batkon)ต่อเนื่องกันไปจนหมดระยะทางที่กำหนดไว้

เทคนิคในการวิ่งผลัด[แก้ไข]

การวิ่งผลัดเริ่มต้นจาก วิธีถือคฑาตั้งต้นออกวิ่ง การออกวิ่ง วิธีถือคฑาในขณะวิ่ง วิธีส่งและรับคฑา ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่นักเรียนต้องเรียนรู้หมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญทุกขั้นตอน โดยต้องประสานสอดคล้องกับเพื่อนร่วมทีมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน
1.1)วิธีถือคฑา ในช่วงตั้งต้นก่อนออกวิ่งการถือคฑาของผู้ตั้งต้นในการออกวิ่งคนแรกนั้น ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งปฏิบัติ เช่นเดียว กับท่าตั้งต้นวิ่งระยะสั้นทุกประการแต่ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือต้องถือคฑาไว้ด้วย  การถือคฑามีหลายแบบ แล้วแต่จะเลือกตาม ความถนัดของผู้เข้าแข่งขันแต่มีหลักที่ควรพิจารณาคือคนที่ออกวิ่งด้วยเท้าขวา มักจะถือคฑาด้วยมือซ้ายหรือมือที่เหวี่ยงไป ข้างหน้าในขณะที่เริ่มวิ่งก้าวแรกไม่ควรถือคฑาด้วยมือที่เหวี่ยงไปข้างหลังในก้าวแรก เพราะคฑาอาจจะหลุดจากมือได้ง่ายเนื่อง จากมือที่เหวี่ยงไปข้างหลังมีความแรงมากกว่าหรือคฑาอาจจะเหวี่ยงไปถูกสะโพกทำให้คฑาหลุดจากมือได้เช่นกัน ดังนั้นการถือคฑาด้วยมือซ้ายหรือมือที่เหวี่ยงไปข้างหน้าเมื่อใช้เท้าขวายันพื้นข้างหลังจึงได้เปรียบด้วยประการทั้งปวง โดยทั่วไปมีวิธีถือคฑา 5 วิธี ดังนี้
วิธีที่1 ใช้โคนนิ้วและนิ้วหัวแม่มือหนีบบริเวณส่วนกลางของคฑาไว้ปลายนิ้วทั้งห้ายันพื้นนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือวางชิดชอบในของเส้นเริ่ม
วิธีที่ 2 ใช้นิ้วชี้นิ้วเดียวกำรอบคฑา ปลายนิ้วอื่น ๆ ยันพื้นไว้ ปลายนิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือวางชิดขอบในของเส้นเริ่ม
วิธีที่3 ใช้นิ้วกลางนิ้วเดียวกำรอบคฑา ปลายนิ้วอื่น ๆ ยันพื้นไว้ ปลายนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือวางชิดขอบในของเส้นเริ่ม
วิธีที่ 4 ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกำรอบคฑา ปลายนิ้วอื่น ๆ ยันพื้นไว้ ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือวางชิดขอบในของเส้นเริ่ม
วิธีที่ 5 ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยกำรอบคฑา ปลายนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ ยันพื้นชิดขอบในของเส้นเริ่ม

เทคนิคในการออกตัว [แก้ไข]

ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งของผู้ถือคฑาไม้แรกนั้น ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับท่าตั้งต้น และการออกวิ่งระยะสั้นทั่วไป เพียงแต่เพิ่มการถือคฑาและระวังไม่ให้คฑาที่ถืออยู่หลุดจากมือเท่านั้น

วิธีถือคฑาในขณะวิ่งและวิธีเปลี่ยนมือถือคฑา [แก้ไข]

ขณะที่วิ่งและมือถือคฑาอยู่นั้น การแกว่งแขนก็เหมือนกับการแกว่งแขน วิ่งระยะสั้นทั่วไป แต่พยายามให้ปลายคฑาชี้ตรงไปข้างหน้าตามทางวิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้คฑาถูกร่างกายและหลุดจากมือสำหรับการเปลี่ยนมือถือคทาขณะวิ่งนั้น โดยปกติแล้วผู้ส่งคฑาด้วยมือซ้าย และผู้รับจะรับคฑาด้วยมือขวา เพราะถ้าผู้ส่งคฑาด้วยมือขวาและผู้รับรับคฑาด้วยมือขวาเช่นกัน นอกจากทำให้การรับส่งคฑาไม่ถนัดแล้ว อาจจะทำให้ผู้รับและผู้ส่งชนกันเองอีกด้วย นักกรีฑาวิ่งผลัดจึงนิยมส่งคฑาด้วยมือซ้ายรับด้วยมือขวา หรือถ้าส่งคฑาด้วยมือขวาต้องรับด้วยมือซ้าย ด้วยเหตุนี้จึงมีการเปลี่ยนมือถือคฑาในขณะที่วิ่ง การเปลี่ยนมือถือคฑานี้จะทำในช่วงขณะที่เหวี่ยงแขนสลับกันพอดี การเปลี่ยนมือถือคทาจากมือขวามาถือด้วยมือซ้ายจึงกระทำในช่วงขณะที่เหวี่ยงแขนขวาขึ้นไปข้างหน้า แล้วกำลัง จะเหวี่ยงแขนขวากลับมาข้างหลัง ซึ่งในช่วงนี้แขนซ้ายกำลังเหวี่ยงขึ้นไปข้างหน้าสลับกันกับแขนขวา มือขวาก็จะส่งคฑาให้มือซ้าย จับกำไว้ทันที โดยไม่ให้เสียจังหวะการวิ่ง

เทคนิคในการถือคฑาเพื่อส่งแล้วรับ[แก้ไข]

วิธีถือคฑาเพื่อส่งให้ผู้รับเริ่มจากผู้ตั้งต้นออกวิ่งถือคฑาด้วยมือขวา วิ่งไปส่งให้ผู้รับคนที่ 2 ซึ่งยืนชิดชอบของช่องวิ่ง และรับคฑาด้วยมือซ้ายวิ่งไปส่งให้คนที่ 3 ซึ่งยืนชิดขอบซ้ายของช่องวิ่ง และรับไม้คฑาด้วยมือขวา วิ่งไปส่งให้คนสุดท้าย ซึ่งจะยืนชิดขอบขวาของช่องวิ่ง และรับไม้คฑาด้วยมือซ้ายวิ่งไปตลอดระยะทาง
วิธีการรับ - ส่งคฑาแบบนี้นิยมใช้กันในการแข่งขันวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร ทั้งนี้เพราะผู้รับไม่ต้องเปลี่ยนมือเมื่อรับคฑาได้แล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องไม้คฑาจะหลุดจามมือในขณะที่เปลี่ยนมือคฑา และทำให้ไม่เสียความเร็วในการวิ่งในช่วงของการเปลี่ยนมือถือคฑา อีกประการหนึ่งผู้ส่งคนที่ 1 สามารถวิ่งชิดขอบในของช่องวิ่งได้ตลอดระยะทาง ส่วนคนที่ 2 และคนที่ 4 ก็สามารถวิ่งชิดขอบนอกได้โดยไม่เสียระยะทางเพราะเป็นทางวิ่งตรง และผู้รับคนที่ 3 ซึ่งวิ่งทางโค้งก็สามารถวิ่งชิดขอบในของช่องวิ่งได้ตลอดระยะทาง สำหรับการวิ่งผลัดประเภทอื่นก็สามารถปรับปรุง หรือดัดแปลงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการวิ่งผลัดประเภทนั้น ๆ ได้ตามความเหมาะสมเช่นกัน
ก. เขตส่งและรับคฑา ตามกติกาการวิ่งผลัดระยะสั้นจะมีเขตกำหนดการส่งและการรับคฑาไว้ ผู้ส่งและผู้รับจะทำการเปลี่ยนการถือคฑากันมือต่อมือได้ จะต้องอยู่ภายในเขต 20 เมตรเท่านั้น เขตนี้นับจากระยะทางเต็มขึ้นไปข้างหน้า 10 เมตร และถอยหลังลงมา 10 เมตร จึงรวมกันเป็น 20 เมตร แต่อนุญาตให้ผุ้รับถอยไปต่ำกว่าเขตรับส่งได้จริงอีก 10 เมตร แต่ระยะ 10 เมตรที่กล่าวนี้ผู้รับจะแตะคฑาไม่ได้ นอกจากมีไว้เพื่อให้ผู้รับคฑาใช้สำหรับวิ่งเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับผู้ที่จะส่งให้เท่านั้น เขตหลังนี้ผู้รับจะไม่ใช้ก็ได้
ข. การกำหนดที่หมาย การกำหนดที่หมายและการใช้สัญญาณระหว่างผู้ส่งและผู้รับคฑาจะต้องมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี กล่าวคือ เมื่อผู้ส่งวิ่งมาเหยียบที่หมายซึ่งได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้วก็จะส่งสัญญาณให้ผู้รับออกวิ่งหรือจะให้ผู้รับออกวิ่งเองเมื่อเห็นผู้ส่งเหยียบที่หมายก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่จะตกลงกัน การที่จะกำหนดที่หมายใกล้หรือไกลจากผู้รับขึ้นอยู่กับฝีเท้าของผู้ส่งและผู้รับด้วย ถ้าผู้ส่งวิ่งเร็วกว่าผู้รับก็จ้องกำหนดที่หมายให้ไกลกว่าเดิม ถ้าผู้ส่งวิ่งช้ากว่าผู้รับก็ต้องเลื่อนจุดกำหนดที่หมายให้ใกล้เข้ามาจนกว่า จะสามารถรับส่งกันได้ด้วยความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี

วิธีส่งและรับคฑา [แก้ไข]

วิธีส่งและรับคฑาทั้งผู้รับและผู้ส่งต้องมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ถ้ารับด้วยมือขวา ผู้รับจะต้องวิ่งชิดขอบซ้ายของทางวิ่งจนกว่าจะรับได้ ส่วนผู้ส่งจะต้องส่งด้วยมือซ้ายและวิ่งชิดขอบขวาของทางวิ่ง ขณะที่ทำการส่งจนกระทั่งการส่งเสร็จสิ้น วิธีส่งและรับคฑาโดยทั่วไปจะมี 2 แบบคือ แบบงอแขน และเหยียดแขน ผู้รับอาจหงายมือหรือคว่ำมือรับคฑาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ยกตัวอย่างวิธีการส่ง และรับคฑาแบบงอแขนซึ่งมีวิธีการส่งและรับคฑา ดังนี้
ก. วิธีส่งและรับคฑาแบบงอแขนหงายมือ เท้าผู้รับคทายืนชิดขอบซ้ายของลู่วิ่งเท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวาปลายเท้าทั้งสองชี้ตรงเฉียงไปทางขวามือเล็กน้อย งอเข่าโล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนซ้ายยกขึ้นข้างหน้าพอประมาณ งอศอกเล็กน้อย มือขวาซึ่งใช้รับคฑายกหงายฝ่ามือขึ้น นิ้วทั้ง 5 ชิดกันปลายนิ้วแตะเอวด้านขวา กางข้อศอกออกให้มากที่สุด แบะข้อศอกออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ก้มศีรษะลงเล็กน้อย สายตามองลอดช่องแขนขวาไปข้างหลังหรือเอียงคอไปทางขวา สายตามองข้าม ไหล่ขวาไปข้างหลังเพื่อมองดูผู้ส่งคฑาที่กำลังวิ่งมา ผู้รับคฑาใช้สายตาม มองจับอยู่ที่หมาย ซึ่งได้ทำเครื่องหมายไว้เมื่อเท้าของผู้ส่งคฑาวิ่งมาเหยียบที่หมาย ผู้รับจะหันหน้าตรงออกวิ่งอย่างเร็ว โดยไม่มองผู้ส่งอีก ขณะวิ่งแขนซ้ายจะแกว่งไปมาตามปกติมือขวาไม่แกว่งไปมาเพราะจะทำให้ผู้ส่งส่งคฑาได้ยาก
ผู้ส่งเมื่อวิ่งมาถึง ช่วงระยะที่จะส่งคฑาได้ ให้เหยียดแขนที่ถือคฑาซึ่งเป็นจังหวะที่แกว่งแขนไปข้างหน้าแล้วตีคทาลงบนฝ่ามือของผู้รับ แล้ววิ่งต่อไปโดยชะลอฝีเท้าลงเรื่อย ๆ เมื่อผู้ส่งตีคทาลงบนฝ่ามือแล้วผู้รับรีบกำคฑาวิ่งต่อไปทันที
ข. วิธีส่งและรับคฑาแบบงอแขนคว่ำมือ ลักษณะท่าทางการยืนและสายตาการมองของผู้รับคทาแบบคว่ำมือให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการยืนรับคทาแบบหงายมือ แต่มือขวาที่ใช้รับคฑาให้ยกมือขึ้นระดับเอว ปลายนิ้วหัวแม่มือแตะเอว หรือห่างเอวเล็กน้อย นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกันและกางออกจากนิ้วหัวแม่มือมาก ๆ บิดข้อมือหันฝ่ามือไปข้างหลัง ปลายนิ้วทั้งหมดชี้ลงสู่พื้นเฉียงไปข้างหลังเล็กน้อย ผู้รับคทาใช้สายตามองอยู่ที่หมายหรือตำแหน่งที่กำหนดไว้ เมื่อเท้าของผู้ส่งคฑาวิ่งมาเหยียบที่หมาย ผู้รับจะหันหน้าตรงออกวิ่งอย่างเร็วโดยไม่มองผู้ส่งอีก ขณะวิ่งแขนซ้ายจะแกว่งไปมาตามปกติมือขวาจะไม่แกว่งไปมา เพราะจะทำให้ผู้ส่งส่งคฑาได้ยาก ผู้ส่งเมื่อวิ่งมาถึงช่วงระยะที่จะส่งคทาได้ให้เหยียดแขนที่ถือคฑา ซึ่งเป็นจังหวะที่แกว่งแขนไปข้างหน้าแล้วตีคฑาขึ้นไป ให้คฑาเข้าไประหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ของมือผู้รับ แล้ววิ่งต่อไปโดยชะลอฝีเท้าลงเรื่อย ๆ ผู้รับเมื่อคฑาถูกมือแล้วให้รีบกำและดึงคฑาวิ่งต่อไป

กติกาการแข่งขันเบื้องต้น[แก้ไข]

1. เมื่อการแข่งขันวิ่งผลัดทำในช่องวิ่ง ผู้เข้าแข่งขันอาจทำที่หมายไว้บนลู่ภายในช่องวิ๋งของตนเอง โดยใช้เทปกาวขนาด 5 X 40 ซม. มีสีที่เห็นได้ชัดเจน ไม่สับสนกับกับเครื่องหมายถาวรอื่น ๆ สำหรับลู่วิ่งที่ทำด้วยหญ้าหรือถ่านละเอียด นักรีฑาอาจทำที่หมายในช่องวิ่งของตนเอง โดยการทำรอยขีดไว้บนลู่วิ่ง
2. ไม้วิ่งผลัดจะต้องถือด้วยมือตลอดการแข่งขัน ถ้าหล่นนักกรีฑาจะต้องเก็บด้วยตนเองอาจออกจากช่องวิ่งของตนเพื่อไปเก็บคทาที่หล่นคืนมา การทำเช่นนี้ต้องไม่ทำให้ระยะทางที่วิ่งลดน้อยลง และไม่ไปกีดขวางทางวิ่งของนักกรีฑาคนอื่น ๆ การที่คทาหล่นไม่เป็นผลให้ต้องออกจากการแข่งขัน
3. ในการแข่งขันวิ่งผลัดทุกประเภทการรับส่งคฑาจะต้องกระทำในเขตรับส่งเท่านั้นการส่งผ่านคทาเริ่มขึ้นเมื่อคทาสัมผัสมือผู้รับ และเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในวินาทีที่คทาอยู่ในมือของนักกรีฑาภายในเขตรับส่งเท่านั้นที่เป็นตัวชี้ขาด ไม่ใช่ตำแหน่งของร่างกายหรือแขน ขา ของผู้เข้าแข่งขัน
4. ในการแข่งขันวิ่งผลัดอื่น ๆ เมื่อไม่ใช้ช่องวิ่ง นักกรีฑาที่รอรับคทาจะต้องอยู่ด้านในของลู่ ขณะที่สมาชิกของทีมกำลังวิ่งเข้ามาถึง โดยผู้รับต้องไม่ไปเบียดกระแทกหรือกีดขวางผู้เข้าแข่งขันคนอื่น
5. หลังจากส่งคฑาเสร็จแล้ว ผู้เข้าแข่งขันควรอยู่ในช่องวิ่งของตนหรืออยู่ในเขตรับส่งคฑาจนกว่าทางวิ่งจะปลอดจากผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดขวางนักกรีฑาคนอื่น การวิ่งออกจากตำแหน่งหรือช่องวิ่งของตนเอง เมื่อส่งไม้วิ่งผลัดเสร็จแล้ว อาจทำให้ทีมถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันโดยถือว่าเป็นการทำผิดกติกาได้
6. การช่วยเหลือด้วยการผลัก หรือด้วยวิธีอื่นใดต่อสมาชิกในทีมขณะทำการแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

วิ่งข้ามรั้ว[แก้ไข]

การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งที่ต้องวิ่งไปตามลู่วิ่งและกระโดดข้ามรั้วตามระยะทาง และความสูงของรั้วที่กำหนดไว้ ซึ่งระยะทางมาตรฐานที่ใช้ในการแข่งขัน มีดังนี้
ชาย 110 เมตร และ 400 เมตร
หญิง 100 เมตร และ 400 เมตร

เทคนิคในการวิ่งข้ามรั้ว [แก้ไข]

การวิ่งข้ามรั้ว ประกอบด้วยท่าตั้งต้นและการออกวิ่ง ลักษณะการจรดเท้ากระโดด ลักษณะของเท้านำ ลักษณะของลำตัวและแขน ลักษณะของเท้าตาม ท่าลงสู่พื้นและการเข้าเส้นชัย ทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่นักเรียนต้องเรียนรู้ โดยมีเทคนิคดังนี้
1.1) ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งและการออกวิ่ง ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งให้ปฏิบัติเหมือนกับการตั้งต้นออกวิ่งระยะสั้น แต่เนื่องจากระยะทางจากเส้นเริ่มไปยังรั้วที่ 1 และรั้วอื่น ๆ ถูกกำหนดไว้ตายตัว จึงมีสิ่งที่ผู้วิ่งต้องปฏิบัติแตกต่างไปจากวิ่งระยะสั้นธรรมดาธรรมดา ซึ่งพอสรุปได้ 2 ประการ ดังนี้
ประการแรก การวางเท้าขณะเข้าที่ตั้งต้น อาจจะต้องสลับเท้าไว้ข้างหน้าหรือข้างหลัง เพื่อให้เท้าที่ถนัดเป็นเท้าที่กระโดดข้ามรั้ว
ประการที่สอง การวิ่งข้มรั้วนักวิ่งจะต้องรีบตั้งตัวให้มุมของลำตัวสูงกว่าการวิ่งระยะธรรมดา เพื่อให้การจรดเท้ากระโดดข้ามรัวได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการออกวิ่งสายตาจะมองไปข้างหน้าเส้นเริ่ม และเมื่อออกวิ่งไปได้ประมาณ 5 ก้าวจึงมองตรงไปที่รั้ว ซึ่งจำนวนก้าวจากเส้นเริ่มถึงรั้วแรกและจำนวนก้าวระหว่างรั้วประเภทรั้วต่ำ มีดังนี้
ก. ประเภท 100 เมตร ควรวิ่ง 10 ก้าว ก้าวที่ 11 เป็นก้าวข้ามรั้ว (สำหรับคนทีใช้เท้าขวาแตะนำ แต่เวลาเริ่มต้นใช้เท้าซ้ายไว้ข้างหลังนั้นก็วิ่ง 9 ก้าว หรือ 11 ก้าว และก้าวที่ 10 หรือก้าวที่ 12 เป็นก้าวข้าม) จำนวนก้าวระหว่างรั้วควรฝึก 7 ก้าว ก้าวที่ 8 เป็นก้าวข้ามรั้ว แต่ถ้าเป็นคนร่างเตี้ยและช่วงก้าวสั้น อาจใช้ 9 ก้าว ก้าวที่ 10 เป็นก้าวข้ามระยะหลังรั้วสุดท้ายถึงเส้นชัยไม่จำกัด จำนวนก้าวให้ใช้กำลังที่เหลือ เร่งฝีเท้าให้เต็มที่เข้าสู้เส้นชัย
ข.ประเภท 400 เมตร จากเส้นเริ่มถึงรั้วแรกควรฝึกวิ่ง 24 ก้าว ก้าวที่ 25 เป็นก้าวลอยข้ามรั้ว ระยะทางวิ่งระหว่างรั้ว ควรฝึกวิ่ง 15 ก้าว ก้าวที่ 16 เป็นก้าวลอยข้ามรั้ว (สำหรับคนเตี้ยก้าวสั้น อาจเพิ่มจำนวนก้าวขึ้นอีก 2 ก้าวก็ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีการซอยเท้าหรือหยุดชะงัก)
1.2) เทคนิคการจรดเท้ากระโดด เท้าที่จรดพื้นก่อนกระโดดนี้ต้องให้ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า        และปลายเท้าจะอยู่ห่างจากรั้วประมาณ 7-8 ฟุตเป็นอย่างน้อย        เท้าที่จรดพื้นต้องเหยียดเข่าและสปริงข้อเท้าขึ้นอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดแรงส่งตัวพุ่งไปข้างหน้า
1.3) เทคนิคการควบคุมเท้านำ เท้าข้างที่ยกแตะขึ้นข้ามรั้วเรียกว่า “ เท้านำ” โดยยกเข่าขึ้นให้ขาท่อนบนขนานกับพื้น เข่างอแล้วเหยียดขาออก ตั้งปลายเท้าขึ้นไปข้างหน้าเหนือระดับรั้ว
1.4) เทคนิคการควบคุมลำตัวและแขน ขณะที่กระโดดลอยตัวอยู่เหนือรั้ว ซึ่งเป็นรั้วต่ำนี้ ไม่ต้องก้มลำตัวลงมาก ไม่ต้องยกเข่าขึ้นสูงมาก ถ้าสามารถก้าวข้ามไปเลยยิ่งดี เพราะไม่ต้องเสียเวลาลอยตัว ลักษณะของลำตัวจะโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นรั้วสูงจะต้องโน้มลำตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด ศีรษะจะก้มลงข้างหน้าเล็กน้อย แขนข้างตรงกันข้ามกับเท้านำจะเหวี่ยงไปข้างหน้าพร้อมกับเท้านำ หันฝ่ามือลงสู่พื้น ข้อศอกงอขึ้นเกือบเสมอแนวไหล่ ขาเตะขึ้นเฉียดรั้วให้มากที่สุด
1.5) เทคนิคการควบคุมเท้าตาม เท้าข้างที่กระตุกเข่าขึ้นหลังเท้านำเรียกว่า “ เท้าตาม” คือ เท้าข้างที่จรดพื้นก่อนข้ามรั้วนั่นเอง เท้าข้างต่ำจรดพื้น เมื่อสปริงส่งตัวขึ้นสูงสุดแล้ว ให้กระตุกเข่าขึ้นมาจนเป็นมุมฉากกับขาท่อนบน ปลายเท้าชี้ออกข้างลำตัว เข่าและข้อเท้าอยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะคล้ายกับท่าพับเพียบ
1.6) เทคนิคการลงสู่พื้น เมื่อเท้านำเลยระดับรั้วไปแล้ว ให้กดฝ่าเท้าลงสู้พื้นโดยเร็วและแรง ตามปกติเท้านำจะลงสู่พื้นรั้วห่างออกไปประมาณ 4-5 ฟุต เมื่อเท้านำแตะพื้นแล้วให้รีบกระตุกแขนให้แกว่งสลับกับเท้า เตรียมออกวิ่งต่อไป
ลักษณะท่าทางการลงสู่พื้นเมื่อเท้านำแตะพื้นแล้วให้รีบกระตุกเข่าตามไปข้างหน้าพร้อมกับการกระตุกแขนแกว่งสลับกับเท้าเพื่อเตรียมวิ่งต่อไป
1.7) เทคนิคการวิ่งเข้าเส้นชัย การวิ่งเข้าเส้นชัยให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการวิ่งระยะสั้นเพราะระยะทางหลังรั้วสุดท้ายถึงเส้นชัยไม่จำกัดจำนวนก้าว ให้ใช้กำลังที่เหลือเร่งฝีเท้าให้เต็มที่พุ่งตัวเข้าสู่เส้นชัยในลักษณะท่าทางที่ตนถนัด

กติกาการแข่งขันเบื้องต้น[แก้ไข]

  • รั้วแต่ละรั้วจะต้องวางบนลู่โดยให้ขาตั้งอยู่ริมขอบช่องวิ่ง
  • การแข่งขันทั้งหมดจะต้องวิ่งในช่องวิ่งและผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องวิ่งในช่องของตนตลอดระยะทาง
  • ผู้เข้าแข่งขันที่ใช้ขาหรือเท้าข้ามข้างรั้วหรือกระโดดข้ามรั้วใด ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในช่องวิ่งของตนเอง หรือผู้ชี้ขาดเห็นว่ามีเจตนาทำให้รั้วล้มด้วยมือหรือเท้า จะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

สารบัญ[แก้ไข]

    No comments:

    Post a Comment